กรุงนิวเดลี เผชิญวิกฤติฝุ่นพิษ PM2.5 พุ่งสูงกว่าระดับร้ายแรง 2 เท่า!
3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา IQAir บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคุณภาพอากาศ เผยรายละเอียดค่า API หรือดัชนีคุณภาพของอากาศ ในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ว่าพุ่งสูงถึง 640 โดยค่า API ที่ถือว่าอยู่ในระดับร้ายแรงสูงสุด จะเริ่มต้นที่ 301 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่า ค่า AQI ในกรุงนิวเดลี พุ่งสูงกว่าระดับร้ายแรงสูงสุดกว่า 2 เท่า ทำให้นิวเดลีติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ หรือความหนาแน่นของ PM2.5 มากที่สุดในโลก รองลงมาคือ เมืองลาฮอร์ในปากีสถาน ซึ่งมีค่า AQI อยู่ที่ 335
สถิติปี 2022 พบ ชาวนิวยอร์กกว่าครึ่งล้าน อพยพไปอาศัยยังรัฐอื่น
ชาวออสเตรเลีย ป่วยจากสภาพอากาศสุดขั้ว เข้ารักษาตัวใน รพ. เพิ่มขึ้น
คลื่นผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันกว่า 100,000 คนอพยพออกจากปากีสถาน
เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคประจำกรุงนิวเดลี ตั้งข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้กรุงนิวเดลีมีสภาพเป็นเช่นนี้ อาจเกิดจากอุณหภูมิที่ลดลงตามฤดูกาล ซึ่งทำให้นิวเดลีแทบไม่มีลมพัดผ่านเมืองเลย รวมถึงการเผาตอซังข้าวและพืชผลในบริเวณรัฐใกล้เคียงที่ประกอบเกษตรกรรม ทำให้นิวเดลีมีมลพิษทางอากาศพุ่งสูงขึ้น
อาฮีด ข่าน แพทย์รายหนึ่งในกรุงนิวเดลี กล่าวว่า “ในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ผ่านมา ผมเห็นเด็กเล็กหลายคน รวมถึงเด็กทารก หายใจเร็ว และไออย่างทุกข์ทรมาน”
ผู้ที่อาศัยในกรุงนิวเดลีจำนวนกว่า 20 ล้านคน บ่นว่ามีอาการระคายเคืองตา และคันคออย่างหนัก สภาพอากาศรอบข้างเปลี่ยนเป็นสีเทาและให้ความรู้สึกว่ามลพิษหนาแน่นมาก ในจุดที่เบาบางสามารถตรวจพบค่า AQI ได้ถึง 480 ซึ่งถือว่าเกินระดับร้ายแรงอยู่มากคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สถานที่รวมตัวหลักของผู้คนอย่าง สวนสาธารณะโลดี และอินเดีย เกต ก็ร้างผู้คน ไม่มีผู้ที่มาวิ่งจ๊อกกิ้งหรือมาถ่ายรูปเดินเที่ยวแต่อย่างใด ส่วนชาวบ้านที่อาศัยในกรุงนิวเดลี ต่างแห่กันซื้อเครื่องฟอกอากาศ จนร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าบางร้านถึงขั้นสินค้าหมดสต๊อก และจะได้รับสินค้าล็อตใหม่ในวันจันทร์หน้า (6 พ.ย. 66)
เจ้าหน้าที่ประจำกรุงนิวเดลี กล่าวว่า มลพิษในกรุงนิวเดลีจะยังคงอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกกว่า 2-3 สัปดาห์ และจะรุนแรงขึ้นในช่วงที่เกษตรกรเผาตอซัง โดยที่ไม่มีลมคอยพัดมลพิษเหล่านั้นออกไป โดยเกษตรกรในรัฐทางตอนเหนือ เช่น รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา และรัฐอุตตรประเทศ มักจะเผาขยะพืชผลหลังเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคม เพื่อเคลียร์พื้นที่เพาะปลูก ก่อนที่จะหว่านพืชในฤดูหนาว ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
นอกจากนี้ ในวันที่ 6 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ กรุงนิวเดลี เป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดแข่งขันคริกเก็ตในรายการ Cricket World Cup ระหว่างบังกลาเทศกับศรีลังกา ทำให้ทางการกังวลอย่างหนัก ว่าจะสามารถจัดการแข่งขันได้หรือไม่ และมลพิษจะส่งผลกระทบต่อตัวนักกีฬาหรือไม่
มลพิษทางอากาศในครั้งนี้ ส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งประกาศปิดการเรียนชั่วคราว หรือปิดการเรียนในวันที่กำหนด เช่นโรงเรียนมัธยมต้นแห่งหนึ่งที่สั่งปิดโรงเรียน งดการเรียนการสอนในวันศุกร์และเสาร์ และบางแห่งย้ายไปทำการเรียนการสอนชั่วคราวแถบชานเมือง รวมถึงบังคับให้นักเรียนที่ใช้บริการรถบัสโรงเรียน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
มลพิษทางอากาศนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงด้วย โดย ประพัฒน์ กังวาร์ สัตวแพทย์จากสถาบัน Animal Wealth NGO Friendicoes กล่าวว่า คุณภาพอากาศที่ไม่ดี จะทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีการระคายเคืองต่อดวงตา และเกิดความกระสับกระส่ายได้ จนอาจพัฒนาไปสู่โรคปอดบวมหรือโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่านั้น”
พร้อมแนะนำว่า “หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่นในตอนเช้าสัก 2-3 วัน จนกว่าสถานการณ์มลพิษทางอากาศในกรุงนิวเดลีจะดีขึ้น”
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจากARUN THAKUR / AFP