ส.ว.มีอำนาจ-หน้าที่อะไร! นอกเหนือจากการร่วมโหวตนายกฯ
ท่ามกลางการจับตาท่าทีของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ทำให้เกิดคำถามว่านอกเหนือจากการยกมือร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีแล้ว ส.ว.ยังมีอำนาจหน้าที่อะไรอีกบ้าง
ทังนี้หน้าที่และอำนาจของวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งได้กำหนดให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา โดยให้รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร 500 คน และ สมาชิกวุฒิสภา200 คน แต่ในบทเฉพาะกาลกำหนดให้มีส.ว. ในวาระเริ่มแรก (ภายใน 5 ปีแรก) จำนวน 250 คน
ส.ว. ยันหลักการโหวตนายกฯ ตามเสียงข้างมากสภาผู้แทนราษฎร
"ก้าวไกลมั่นใจ มีเวลาหาเสียง ส.ว.หนุนพิธานั่งนายกฯ
โดยวุฒิสภาตามบทบัญญัติหลัก มีอำนาจและหน้าที่สรุปได้ ดังนี้
การพิจารณาและการกลั่นกรองกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ 2560 ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจ ในการพิจารณาและการกลั่นกรองกฎหมาย โดยบัญญัติให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจทั้งการพิจารณากฎหมายร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในฐานะรัฐสภา และการกลั่นกรองกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบแล้ว
1.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 ได้บัญญัติให้การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ดังนั้น บทบาทอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภา
2.การกลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติ
ซึ่งในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติทั่วไป รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อน เมื่อลงมติเห็นชอบ ให้เสนอต่อวุฒิสภาโดยวุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน แต่หากกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ส่วนร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่าย รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เมื่อเห็นชอบกับร่างกฎหมายแล้ว ให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา โดยวุฒิสภามีเวลาพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ภายใน 20 วัน
3.การอนุมัติพระราชกำหนด
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรี เสนอพระราชกำหนดต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดโดยเร็ว หากสภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติหรือสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภาผู้แทนได้เสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง เพื่อยืนยันการอนุมัติ ให้พระราชกำหนดจะตกไป ดังนั้น บทบาทอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพระราชกำหนดจึงเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภา
4.การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้อำนาจในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา สมาชิกวุฒิสภาจึงมีส่วนสำคัญในการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
โดยรัฐธรรมนูญยังกำหนดว่า การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
และในการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย สมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
อีกทั้งก่อนที่นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยตาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา หากเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ เพื่อให้ประธานส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้
การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญ 2560 ยังได้บัญญัติให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
1.การตั้งกระทู้ถาม
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี ในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหา โดยไม่มีการลงมติ
3.การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้กรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงปลอกภัยหรือเศรษฐกิจของประเทศ สมควรที่จะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี โดยขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภาก็ได้ แต่รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้
4.การตั้งกรรมาธิการ
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานผลการพิจาธณาให้วุฒิสภาทราบ โดยต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสภา
ซึ่งคณะกรรมาธิการมีอำนาจเรียกเอกสาร หรือเรียกบุคคลใดมาแถลง ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบ หาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้
การให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง
รัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ทั้งนี้มีข้อสังเกต วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ซึ่งแตกต่างจากอำนาจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ซึ่งบัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจใน การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
ส่วนหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนั้น นอกจากจะมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับวุฒิสภาตามบทบัญญัติหลักแล้ว รัฐธรรมนูญ 2560 ได้เพิ่มหน้าที่และอำนาจโดยเฉพาะ ดังนี้
1.การติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ
รัฐธรรมนูญบัญญัติให้วุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล มีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม โดยคณะรัฐมนตรีต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบ ทุก 3 เดือน
2คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ
รัฐธรรมนูญ บัญญัติว่าร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ให้เสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
3. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้
รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ในวาระเริ่มแรกภายในอายุของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล (5 ปี) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้ ให้กระทำได้โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
4. การพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามบทเฉพาะกาล ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้กระทำใน "ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา"
มติของรัฐสภาที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา