Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • กรีดเลือดสีฟ้า "อภิสิทธิ์" บนเส้นทางการเมือง 31 ปี ก่อนอำลา "ประชาธิปัตย์"

กรีดเลือดสีฟ้า "อภิสิทธิ์" บนเส้นทางการเมือง 31 ปี ก่อนอำลา "ประชาธิปัตย์"

“ผมขอลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ แต่ยืนยันกับทุกท่าน ผมไม่มีพรรคอื่น ไม่ไปพรรคอื่น กรีดเลือดผมมาก็เป็นสีฟ้าจนวันตาย เป็นลูกพระแม่ธรณีที่จะเอาอุดมการณ์ประชาธิปัตย์รับใช้บ้านเมืองต่อไป”

เป็นคำกล่าวของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หลังถูกเสนอชื่อชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ก่อนตัดสินใจถอนตัว และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคในที่สุด

“อภิสิทธิ์” ถอนตัวชิง หน.พรรค พร้อมลาออกสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

เปิดทำเนียบหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุ้นหัวหน้าพรรคคนที่ 9

โพลชี้ “อภิสิทธิ์” เหมาะนั่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

นายอภิสิทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 เริ่มต้นชีวิตนักการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตั้งแต่เป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงในเขตคลองเตยให้กับ “พิชัย รัตตกุล” ต่อมาเข้าช่วยงานด้านวิชาการเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับ “ชวน หลีกภัย” ขณะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

อย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ บอกว่า ตัวเขาเองตัดสินใจเป็นนักการเมืองในสังกัด ปชป. ตั้งแต่อายุ 11 ปี หลังจากฟังคำอภิปรายในสภาของ “ชวน หลีกภัย” เมื่อปี 2518

นายอภิสิทธิ์ ตัดสินใจลงสมัคร สส.กทม. ในปี 2535 มีอายุเพียง 27 ปี ทำให้เขาเป็น สส.ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และจนถึงปัจจุบัน เขาเคยเป็น สส.มาแล้ว 9 สมัย

 กรีดเลือดสีฟ้า "อภิสิทธิ์" บนเส้นทางการเมือง 31 ปี ก่อนอำลา "ประชาธิปัตย์"

เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ต่อจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ซึ่งนำพรรคแพ้การเลือกตั้งปี 2548 นายอภิสิทธิ์ถือเป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 7 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2548-2562 รวม 14 ปี ถือว่ายาวนานเป็นอันดับสอง รองจาก นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคคนแรก

ขณะที่การดำรงตำแหน่งทางการเมือง เขาเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี , อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล “ชวน หลีกภัย”

กระทั่งได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2551 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาล โดยขณะนั้นเขาอายุ 44 ปี ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เผชิญสถานการณ์ที่สำคัญหลายเหตุการณ์ ทั้งห้วงวิกฤตการณ์การเงินโลก และสถานการณ์ทางการเมือง ห้วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าเนผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ท่ามกลางการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ากองทัพมีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล

หลังจากเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2554 และต่อมา ปชป. แพ้เลือกตั้ง ส่งผลให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนถัดมา ส่วนนายอภิสิทธิ์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ภายหลังเกิดการรัฐประหาร ปี 2557 ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทั่งนำไปสู่การเลือกตั้งปี 2562 นายอภิสิทธิ์ ยังคงเป็นผู้นำพรรคเข้าสู่การเลือกตั้ง โดยขณะนั้น เขาประกาศจะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

หลังจากการเลือกตั้งปี 2562 ปชป.แพ้การเลือกตั้ง นายอภิสิทธิ์ รับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้รับเป็นหัวหน้าในเวลาต่อมา

ล่าสุด วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ในการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ นายชวนหลีกภัย ได้เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ กลับมาเป็นหัวหน้าอีกครั้ง แต่ภายหลังจากการพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการหัวหน้าพรรค เขาประกาศถอนตัวจากการเป็นแคนดิเดตหัวหน้า และลาออกจากสมาชิกพรรคในที่สุด